สาระสำคัญของการจัดตั้งสมาคม
- เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มบุคคล 10 คนขึ้นไปสมาชิกไม่น้อยกว่า 3 คน ยื่นคำขอจัดตั้งเพื่อการกระทำใดๆเป็นการต่อเนื่องร่วมกัน (เน้นกลุ่มคนเป็นสำคัญไม่ต้องมีกองทุน)
- การบริหารงานสมาคมจะดำเนินการ 2 ลักษณะคือ
- การบริหารโดยคณะกรรมการ
- การบริหารภายใต้การกำกับดูแลของที่ประชุมใหญ่
- วัตถุประสงค์การบริหารงานเพื่อดูแลผลประโยชน์ของสมาชิกเป็นหลัก
- ราย ได้ของสามคมมาจากค่าลงทะเบียน ค่าบำรุงของสมาชิก การจัดกิจกรรม หารายได้ของสมาคม ส่วนรายจ่ายสามารถใช้เงินได้ในทุกกรณี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และมติที่ประชุม
- การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม แก้ไขโดยมติที่ประชุมใหญ่และต้องนำไปจดทะเบียนภายใน 14 วันนับตั้งแต่วันที่ได้ลงมติ
- นายทะเบียน คือ กรุงเทพมหานคร-อธิบดีกรมการปกครอง ,จังหวัดอื่น-ผู้ว่าราชการจังหวัด
- นายทะเบียนมีอำนาจตรวจตราควบคุมดูแลการดำเนินกิจการและมีอำนาจในการสั่งถอนชื่อสมาคมได้
- ข้อมูลปัจจุบันมี 12,621 สมาคม แยกเป็นกรุงเทพมหานคร 4,785 สมาคม,ต่างจังหวัด 7,836 สมาคม
การจดทะเบียนจัดตั้งสมาคม
ขั้นตอนการดำเนินการและการตรวจสอบเอกสารมีดังนี้
1.รับคำขอตามแบบ ส.ค.1 ณ สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ
ขั้นตอนการดำเนินการ
- รับคำขอตามแบบ ส.ค.1 ณ สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ
การตรวจสอบเอกสาร
- ลงเลขที่รับคำขอ และลงชื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอที่มุมขวาบนของแบบ ส.ค.1
2.ตรวจเอกสารประกอบคำขอ ส.ค.1
ขั้นตอนการดำเนินการ
- ตรวจเอกสารประกอบคำขอ ส.ค.1
การตรวจสอบเอกสาร
มีเอกสารสำคัญที่ต้องตรวจสอบรวบรวมดังนี้
- ข้อบังคับสมาคมมีสาระสำคัญ 8 รายการ ตาม (มาตรา 79) และต้องไม่มีข้อความที่ขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ถ้ามีต้อง ให้ผู้ยื่นคำขอแก้ไขให้สอดคล้องกับกฎหมายด้วย
- รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 10 คนและมีกรรมการของสมาคม (มาตรา 81)
- รายงานการประชุมก่อตั้งสมาคม
- แผนผังที่ตั้งสังเขปของสมาคม ทั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา (ถ้ามี)
- หนังสืออนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองให้ใช้เป็นสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่/สาขา
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่หน่วยราชการออกให้และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้จะเป็นสมาชิก
- สำเนาใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมตามกฎหมายว่าด้วยวัฒนธรรมแห่งชาติในกรณีที่สมาคมมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับงานของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
- บันทึก คำให้การตรวจสอบฐานะและความประพฤติของผู้ที่จะเป็นคณะกรรมการของสมาคม หรือหนังสือรับรองกรณีที่ไม่ต้องสอบปากคำพร้อมสำเนาบัตรฯ ที่แสดงว่าเป็นบุคคลน่าเชื่อถือ
- กรณี เป็นบุคคลต่างด้าว ต้องส่งข้อมูลบุคคลไปตรวจสอบประวัติฐานะและความประพฤติ ณ สำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ และสถานทูตของประเทศที่บุคคลนั้นถือสัญชาติอยู่
- หนังสืออนุญาตการกีฬาแห่งประเทศไทยกรณีเป็นสมาคมที่มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือส่งเสริมการกีฬา
3.ความเห็นเจ้าหน้าที่
ขั้นตอนการดำเนินการ
- ความเห็นเจ้าหน้าที่
การตรวจสอบเอกสาร
- ควรเป็นผู้อำนวยการเขต/นายอำเภอหรือผู้รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทน เพื่อจะได้กลั่นกรองความถูกต้องก่อนเสมอ นายทะเบียนสมาคม พร้อมลงวันที่ เดือน ปี ที่ลงนามด้วย
4.การส่งคำขอและเอกสารประกอบคำให้นายทะเบียนสมาคม กทม. หรือนายทะเบียนสมาคมจังหวัด
ขั้นตอนการดำเนินการ
- การส่งคำขอและเอกสารประกอบคำให้นายทะเบียนสมาคม กทม. หรือนายทะเบียนสมาคมจังหวัด
การตรวจสอบเอกสาร
- เมื่อสำนักงานเขต หรืออำเภอได้พิจารณาเอกสารและคำขอแล้วเห็นว่าครบถ้วนและถูกต้อง ให้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อนายทะเบียนเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและพิจารณา จดทะเบียน
5.นายทะเบียนสมาคมพิจารณาสมาคมตามกฎหมายอื่นๆ
ขั้นตอนการดำเนินการ
- นายทะเบียนสมาคมพิจารณาสมาคมตามกฎหมายอื่นๆ
การตรวจสอบเอกสาร
- ถ้ารับจดทะเบียนแล้ว ให้ออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคม (ส.ค.4) และส่งประกาศรับจดทะเบียนสมาคมไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา แล้วส่งเรื่องคืนสำนักงานเขต หรืออำเภอเพื่อดำเนินการแจ้งผู้ขอจดทะเบียนทราบ และมารับมอบใบสำคัญพร้อมชำระค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวง
- สมาคมการค้า ต้องจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด
- สมาคม ฌาปนกิจสงเคราะห์ ต้องจดทะเบียนกับสำนักงานกิจการสตรีและครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
- สมาคมนายจ้าง ต้องจดทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด